วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับก๊าซแอลพีจี ( LPG Learning)



- ก๊าซแอลพีจีคืออะไร

ชื่อทางราชการ “ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว”
ชื่ออื่นๆ ก๊าซหุงต้ม, แก๊ส
LIQUIDFIELD PETROLEUM GAS : LPG
แหล่งที่มา
การกลั่นน้ำมันดิบ      (ประมาณ 46.7%)
การแยกก๊าซธรรมชาติ     (ประมาณ 47.0%)
ปิโตรเคมีคัล          (ประมาณ   6.3%)
องค์ประกอบหลัก : สารประกอบไฮโดรคาร์บอน
ส่วนประกอบ
โปรเพน ( PROPANE )  :  C3H8  (44)
บิวเทน   ( BUTANE )    :  C4H10  (58)
ใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน ยานพาหนะ และในอุตสาหกรรม

การผลิตก๊าซแอลพีจี
การกลั่นน้ำมันดิบ
ได้จากการกลั่นลำดับส่วน  ซึ่งจะนำน้ำมันดิบมารับความร้อนที่ประมาณ 315-3710C  แล้วมากลั่นตัวที่หอกลั่นบรรยากาศ โดยก๊าซหุงต้มจะกลั่นตัวที่ชั้นบนสุด ที่อุณหภูมิประมาณ 930C
โปรเพนประมาณ    30%
บิวเทนประมาณ        70%
การแยกก๊าซธรรมชาติ
ได้จากกระบวนการนำก๊าซธรรมชาติมาลดความดัน เพื่อเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว แล้วนำเข้าสู่หอกลั่นมีเทน:ได้มีเทน ,อีเทน: ได้อีเทน, โปรเพนซึ่งจะแยกโปรเพน ,ก๊าซ LPG และ ก๊าซโซลีนธรรมชาติออกมา
โปรเพนประมาณ    70%
บิวเทนประมาณ        30%
คุณสมบัติของก๊าซแอลพีจี
1. จุดเดือดต่ำ ประมาณ - 17 องศาเซลเซียส (1 atm, 14.7 psi)
โพรเพน : -42.07 0C
บิวเทน   : -11.73 0C
เมื่อออกสู่บรรยากาศภายนอกจะระเหยกลายเป็นไอทันที
เมื่อก๊าซรั่วไหลจะเห็นเป็นหมอกหรือ ควันสีขาวและเกล็ดน้ำแข็ง เนื่องจากความชื้นรอบๆ บริเวณ ได้รับความเย็นจัดขณะก๊าซระเหย

2. ความดันไออิ่มตัวในถังเก็บ
โพรเพน : 113 Psi. ที่อุณภูมิ 20 0C
บิวเทน   : 41.89 Psi. ที่อุณภูมิ 20 0C
ประมาณ 80 -120 Psi (ปอนด์/ตารางนิ้ว) ความดันจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิและส่วนผลม

0 ความคิดเห็น:

Online: