วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

กระบวนการในการต้มแก๊สเพื่อความปล้อดภัย



1. การตั้งถังก๊าซไม่ควรตั้งในที่ชื้นแฉะเพราะจะทำให้ก้นถังเป็นสนิม และหน้าตะแคงถังหรือคว่ำถังอย่าเด็ดขาด

2. ติดตั้งในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ห่างจากเตาอย่างน้อย 1.5 เมตรและห่างจากอุปกรณ์ที่อาจทำให้เกิดประกายไฟ

3. ระมัดระวังในการเคลื่อนย้าย โดยเฉพาะการกลิ้งหรือกระแทก อาจทำให้ถังบุบหรือรั่วได้

4. หลังจากการใช้ก๊าซแล้วทุกครั้ง ให้ปิดวาล์วต่างๆให้เรียบร้อย ควรปิดวาล์วที่หัวถังก่อนแล้วจึงปิดที่เตาก๊าซเพื่อลดความดันก๊าซที่ค้างอยู่ในท่อก๊าซให้หมดไป

5. หมั่นตรวจรอยรั่วโดยใช้น้ำสบู่ทาตามสายยางและรอยต่อทุกจุด หากมีฟองสบู่ผุดขึ้นมา ให้รีบปิดวาล์วที่ถังก๊าซแล้วรีบแจ้งช่างจากร้านค้าก๊าซโดยด่วน

6. กรณีก๊าซรั่ว เราจะได้กลิ่นก๊าซ ให้ปฏิบัติดังนี้

- รีบปิดวาล์วก๊าซที่หัวถังก๊าซและที่เตาก๊าซกันที
- รีบเปิดประตูหน้าต่างให้มีการระบายอากาศให้ก๊าซที่รั่วเจือจางลง
- กรณีถังก๊าซรั่วให้ย้ายถังอย่างระมัดระวังไปวางไว้ที่กลางสนามแล้วใช้ผ้าขนหนู ซับน้ำห่อหุ้มบริเวณที่รั่วและฉีดน้ำชโลมให้ถังเย็นตลอดเวลา จนกว่าก๊าซจะหมดถัง หรือช่างจากร้านค้าก๊าซมาถึง

7. เลือกใช้เครื่องปรับความดันให้เหมาะสมกับเตาแก๊ส ห้ามใช้เครื่องปรับความดันสูงกับเตาก๊าซที่ใช้ในครัวเรือนเด็ดขาด เพราะก๊าซที่จ่ายออกมาจะมีความดันสูงเกินกว่าจะจุดไฟติด และก่อให้เกิดอันตรายได้

สรุปแล้วการจะรักษาและดูแลถังแก๊สให้ดีได้นั้นเราต้องตรวจดูตลอดเวลาเพื่อไม่ให้เกิดภัยอัตรายต่อพื้นที่ ที่เราจะเก็บถังแก๊ส

ขอขอบคุณ จากบริษัทแก๊ส

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง:   http://www.gaslucky.com/store/article/view/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B8%A1.co.th

0 ความคิดเห็น:

Online: