เพราะ แก๊สหุงต้ม หรือแก๊ส LPG เป็นก๊าซที่มีความไวไฟสูง หากมีปริมาณ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะติดไฟได้ง่าย
ในทางตรงข้าม หากมีปริมาณ และสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ก็จะติดไฟได้ยากเช่นกัน
Note:
ข้อมูลนี้ อาจไม่ครบถ้วนตามหลักทางเคมี แต่จะอธิบายให้ง่ายๆ เพื่อการทำความเข้าใจของคนทั่วไป
เมื่อแก๊สรั่วออกมาจากจุดใดก็ตาม ฟุ้งอยู่ในอากาศ ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งานอยู่ เตาปิดอยู่ ไม่มีเปลวไฟ และ ประกายไฟใดๆ บริเวณไกล้เคียง หากจุดที่วางถังแก๊สนั้น มีอากาศถ่ายเทได้ เช่นมีช่องระบายอากาศ อยู่ที่ผนัง หรืออยู่หลังบ้าน เป็นครัวแบบเปิดโล่ง มีลมพัดผ่านได้่ หากการรั่วซึมมีไม่มาก ก็จะไม่เกิดการระเบิด ติดไฟ แก๊สอาจซึมออกมาเรื่อยๆ แล้วระเหยไปตามลม จนกว่าจะหมดถัง
แต่จะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง หากเป็นครัวที่ปิดทึบ แม้จะมีช่องระบายอากาศ อยู่ที่ผนัง ก็อาจไม่ช่วยเท่าไหร่ เพราะแก๊ส ที่รั่วซึมออกมา จะมีน้ำหนักมากกว่าอากาศ ทำให้ลอยตัวลงต่ำเรี่ยกับพื้น มันจะสะสมอยู่บริเวณนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ หากอาศบริเวณนั้นไม่สามารถถ่ายเทไปที่อื่นได้ แต่จะไม่เกิดอะไรจนกว่าจะมีเปลวไฟ ประกายไฟ เกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย การระเบิดจะมีแรงดันสูงมาก เพราะแก๊สที่ติดไฟ จะมีการขยายตัวเป็น 100เท่า เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญคือ อย่าให้มีประกายไฟ
เรื่องที่ควรทำคือ
1. หาทางระบายอากาศบริเวณนั้นออกไป ให้มากที่สุด ด้วยวิธีที่จะไม่ให้เกิดประกายไฟ
โดยไม่ยุ่งกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกขนิด
2. รีบปิดวาวล์แก๊ส ที่ถังให้สนิท เพื่อหยุดการปล่อยแก๊สออกมาเพิ่มอีก หากปิดวาวล์แล้ว
ยังมีแก๊สออกมาได้อีก เนื่องจากวาวล์ชำรุด หรือออกมาจากจุดอื่น ก็เป็นอันตรายอีกระดับหนึ่ง
ที่เราแก้ไขเองไม่ได้ ต้องเรียกกู้ภัยมาช่วย แต่เราทำได้เบื้องต้นคือ ย้ายเอาถังแก๊สใบนั้นออกจากตัวบ้าน ไปไว้กลางแจ้ง แล้วถอยออกมาให้ห่าง
3. เรียกคนที่มีความรู้มาช่วย เช่นโทรไปร้านแก๊สที่ท่านใช้บริการอยู่ หากจำเบอร์ไม่ได้ ให้เรียกอาสาสมัคร กู้ภัย ในพื้นที่ของท่าน คนเหล่านี้ได้รับการอบรมทางด้านนี้มาแล้ว สามารถที่จะให้คำแนะนำ และมาช่วยเหลือท่านได้
การป้องกัน
สำคัญมาก เพราะเมื่อเกิดเหตุอาจจะแก้ไขไม่ทัน ควรเตรียมการไว้ก่อนดีกว่า
1. การเลือกใช้บริการกับร้านแก๊สที่มีความพร้อมในการจัดหาถังที่มีสภาพสมบรูณ์ และมีคนมาช่วยดูแลท่านได้ ในยามฉุกเฉิน
2. การใช้งานในสถานที่ๆเหมาะสม ยึดเอาความปลอดภัยเป็นอันดับแรก อย่าคำนึงถึงแต่ความสวยงาม และความสะดวกเกินไป
3. เตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ในที่หยิบฉวยได้สะดวก ซักซ้อมกับคนในบ้านด้วย ซึ่งส่วนใหญ่อาจไม่คุ้นเคย เพราะเก็บไว้ในที่มิดชิดเป็นเวลานาน บางคนอาจใช้ไม่เป็น
4. ฝึกนิสัยการใช้งานเตาแก๊ส ให้ใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ลืมปิดแก๊ส อาจจะเขียนป้ายเตือนตัวเองไว้ไกล้ๆ
5. ตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นที่เชื่อมต่อกันอยู่เสมอ ทั้งเตา สายแก๊ส หัวปรับ ถัง โดยใช้น้ำสบู่เพื่อหารอยรั่ว ในจุดต่างๆ
6. เตือนคนในบ้านให้ช่วยกันดูแล และให้ความรู้กับทุกคน เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัย
ขอบคุณ บริษัท แก๊ส
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น