คุณสมบัติสำคัญของแก๊สที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานและเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อ ความปลอดภัย มีดังนี้
ไม่มีสี จะมองไม่เห็นเมื่อแก๊สรั่วแต่ในบางครั้งถ้าแก๊สรั่วออกมามากหรือน้ำแก๊สรั่วจะเห็นเป็นละอองขาว
ความจริงแล้วละอองขาวนั้นคือไอน้ำซึ่งกลั่นตัวเนื่องจากได้รับความเย็นจัดจากการระเหยของแก๊ส
2. ไม่มีกลิ่น แต่จำเป็นต้องใส่สาร “เอธิลเมอร์แคบเทน” ลงไปเพื่อให้เกิดกลิ่นฉุน คล้ายก๊าซไข่เน่า และเพื่อเป็นการเตือนเมื่อเกิดแก๊สรั่วซึม
3. ไม่มีพิษ แต่ถ้าหายใจหรือสูดดมเข้าไปมาก ๆ อาจจะเกิดอาการวิงเวียนเป็นลมได้ ทั้งนี้เพราะร่ายกายได้รับก๊าซ ออกซิเจนไม่เพียงพอ
4. มีจุดเดือดที่ต่ำมาก ประมาณ 0 องศาเซลเชียส อุณหภูมิของอากาศโดยเฉลี่ยของ ประเทศเกินกว่า 20 องศาเซลเซียล ดังนั้น
เมื่อแก๊สถูกปล่อยออกจากภาชนะที่บรรจุพ้นสภาพ การถูกกดดันก็จะเดือดและเปลี่ยนสภาพเป็นไอทันทีการที่แก็สจะระเหยหรือเดือด จำเป็นต้อง ดึงดูดความร้อนจากบริเวณใกล้เคียง ในการปฏิบัติการเกี่ยวกับแก๊ส ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกายสัมผัสกับน้ำแก๊ส อาจจะทำให้ร่ายกายส่วนนั้นเย็นจัดถึงไหม้ได้ ยิ่งถ้าแก๊สไปถูกส่วนสำคัญของร่างกาย เช่น ตา อาจจะพิการได้ การปฎิบัติการเกี่ยวกับแก๊สจึงควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อาจจะต้องมีเครื่องป้องกัน เช่น ถุงมือ ชุดป้องกัน เป็นต้น
5. แก๊สเบากว่าน้ำ เมื่อมีสภาพเป็นน้ำแก๊ส แก๊สจะมีน้ำหนักประมาณ ครึ่งหนึ่ง ของน้ำจึงลอยอยู่เหนือน้ำ ไม่จมน้ำ
ถ้าแก๊สรั่วลงในคูน้ำ ท่อน้ำ หรือ แม่น้ำลำคลองอาจจะไหล ตามน้ำไปติดไฟ ณ จุดที่ห่างออกไปได้
6. แก๊สหนักกว่าอากาศ เมื่อมีสภาพเป็นไอแก๊ส แก๊สจะหนักประมาณ 2 เท่าของอากาศ เมื่อแก๊สรั่วทำให้ไหลไปรวมในที่ต่ำ
ดังนั้น ที่ตั้งถังแก๊สและบริเวณใกล้ถังแก๊สจึงไม่ควรเป็นที่ต่ำกว่าระดับพื้นทั่ว ๆ ไป เช่น ไม่ควรตั้งถังแก๊สไว้ในห้องใต้ดิน ใกล้หลุมบ่อ หรือ รางระบายน้ำ เป็นต้น
7. แก็สมีอัตราการขยายตัวสูง การเติมแก๊สในภาชนะจึงไม่ควรเติมเต็ม ต้องมี ช่องว่างไว้สำหรับการขยายตัวเมื่อแก๊ส
ได้รับความร้อน
8. แก๊สมีความดันสูง ภาชนะที่บรรจุ อุปกรณ์ที่ใช้ต้องออกแบบให้แข็งแรง ทนต่อแรง ทนต่อความดันนั้นได้
การใช้ภาชนะและอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงและเป็นอันตรายได้
9. แก๊สมีความเข้มข้นใสต่ำ จึงรั่วง่าย อุปกรณ์ที่ใช้กับแก๊สต้องแน่นหนากว่าอุปกรณ์ที่ใช้อุปกรณ์ผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น
10. ส่วนผสมของแก๊สกับอากาศที่ทำให้ติดไฟ อัตราส่วนของแก๊สในอากาศที่ทำให้ติดไฟ คือ 1.5 – 9 ส่วนใน 100 ส่วนของส่วนผสม คุณสมบัติข้อนี้ชี้ให้เห็นว่า ถ้ามีแก๊สในอากาศน้อยหรือมากกว่าสัดส่วนดังกล่าว แก๊สจะไม่ติดไฟ
11. อัตราการขยายตัวจากสภาพแก๊สเหลวเป็นไอแก๊ส แก๊สเหลว 1 หน่วยปริมาตร จะเปลี่ยนเป็นสภาพไอแก๊สได้ถึง 250 หน่วยปริมาตร เมื่อแก๊สรั่วจึงมีอันตรายมากกว่าไอแก๊สรั่ว
12. เป็นเชื้อเพลิงที่ดี มีอุณหภูมิเปลวไฟสูง โปรเพนมีอุณหภูมิของเปลวไฟในอากาศ 1,930 องศาเซลเชียส และบิวเทน 1,900 องศาเซลเชียส
13. เมื่ออยู่ในถังเก็บจะเป็นของเหลว โดยเพิ่มความดันหรือลดอุณหภูมิหรือ ทั้งสองอย่างเพื่อสะดวกในการขนส่ง
14. เมื่ออยู่นอกถังเก็บจะเปลี่ยนสภาพเป็นก๊าซ ทั้งนี้เพราะ แอลพีจี มีจุดเดือดต่ำมาก คือ จุดเดือดของโปรเพน = - 42 องศาเซลเชียส จุดเดือดของบิวเทน = - 0.5 องศาเซลเชียส
15. ไวไฟ ติดไฟง่าย และมีความปลอดภัยเมื่อใช้อย่างถูกต้อง
16. ในกรณีที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง ปริมาณของเหลวในถังเก็บจะมีความดันคงที่เสมอ ไม่ว่าบริเวณแก๊ส
ในถังจะมีมากน้อยเพียงใด แต่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ความดันก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย
ที่มา : http://www.nonggerd.ac.th/gas/__7.html
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น