สารพิษ หมายถึงสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย หรือสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แม้เพียงจำนวนเล็กน้อย ก็ทำให้เกิดอันตราย ต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เป็นผลให้เกิดความเสียหาย หรือถึงแก่ความตายได้
สารมีพิษที่บุคคลในบ้าน อาจได้รับอันตราย ได้แก่ ยาฆ่าแมลง ยารักษาโรคทุกชนิด ยาปราบศัตรูพืช น้ำด่าง น้ำกรด สารที่ใช้ทำความสะอาดต่างๆ แอลกอฮอล์ สีทาบ้าน น้ำมันเบนซิน เชื้อเพลิงเหลวทุกชนิด รวมทั้งอาหาร และพืชพันที่ปนเปื้อนด้วยสารมีพิษ การเข้าสู่ร่างกายของสารมีพิษสารมีพิษเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง ดังนี้
1. ทางปาก ได้แก่ การกินเข้าไป2. ทางจมูก ได้แก่ การหายใจเอาสารที่ระเหยได้อุณหภูมิปกติ หรือการหายใจเอาฝุ่นละอองของโลหะต่างๆ
3. ทางผิวหนัง ได้แก่ การสัมผัสสารมีพิษทางผิวหนัง หรือการฉีดสารมีพิษเข้ากล้ามหรือเส้นเลือด เช่น ยาเสพติด
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากสารมีพิษ อุบัติเหตุจากสารพิษอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1. ความประมาณ ความประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดการหยิบของผิด เช่น หยิบยาผิด
2. ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อุบัติเหตุอาจเกิดจากความไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์
3. การจัดสารเคมีหรือสารมีพิษต่างๆ โดยขาดความเป็นระเบียบ รอบคอบ เช่น การเก็บรวมกับของกิน หรือเก็บไว้ใกล้มือเด็ก ไม่มีฉลากปิดชื่อและวิธีการใช้สารเคมีนั้นๆ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
วิธีป้องกันอันตรายจากสารพิษ การป้องกันอันตรายจากสารมีพิษนั้น ควรปฏิบัติดังนี้
1. ก่อนใช้ยาและสารเคมี ควรอ่านฉลาก และวิธีการใช้ให้เข้าใจอย่างถูกต้องแล้วปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัด
2. ไม่ควรหยิบยาหรือสารเคมีมาใช้ ขณะที่เมาสุรา
3. ศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับอันตรายและวิธีป้องกันอุบัติเหตุเกี่ยวกับสารมีพิษ
4. เก็บสารมีพิษไว้ในตู้อย่างมิดชิด พ้นมือเด็ก และปิดฉลากชื่อและวิธีการใช้สารมีพิษเหล่านั้นด้วย
5. การใช้ยากันยุง ถ้าจำเป็นควรใช้การระบายอากาศดี หรือใช้ขณะที่ไม่มีคนอยู่ในห้อง
วิธีปฏิบัติเมื่อถูกสารมีพิษ
1. เมื่อสารมีพิษเข้าทางปาก
1.1 ควรทำให้อาเจียน โดยให้น้ำอุ่นมากๆ หรือล้วงคอ แต่ถ้ากินกรดหรือด่างห้ามให้อาเจียน ถ้าทราบว่ากินกรดเข้าไปให้กินน้ำสบู่อ่อนๆ แต่ถ้าทราบว่ากินด่างเข้าไปให้กินน้ำส้มคั้นหรือน้ำส้มสายชูอ่อนๆ แล้วรีบส่งแพทย์
1.2 รีบให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
1.3 ถ้าผู้ป่วยหมดสติให้ช่วยเป่าลมเข้าทางปากหรือจมูก แล้วนำส่งโรงพยาบาลถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัว ให้รีบทำให้อาเจียน
2. เมื่อสารมีพิษเข้าทางจมูก
2.1 ควรนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีสารพิษ
2.2 ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวก และเป่าลมเข้าทางปากหรือจมูก
2.3 ให้ยาดมฉุนๆ เพื่อช่วยกระตุ้นการหายใจ
3. เมื่อสารมีพิษเข้าทางผิวหนัง
3.1 ควรรีบล้างน้ำสะอาดให้มากๆ
3.2 หากถูกกรดต้องล้างด้วยน้ำสะอาดมากๆ แล้วล้างด้วยสารละลายอิ่มตัวของโซเดียมไบคาร์บอเนต
3.3. หากถูกด่างต้องล้างด้วยน้ำสะอาดมากๆ แล้วล้างด้วยสารลายกรดน้ำส้ม
3.4 หากกรดหรือด่างเข้าตา ต้องรีบล้างด้วยนำสะอาดและลืมตาในน้ำสะอาดนานๆ แล้วรีบส่งแพทย์
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูล
แหล่งข้อมูลจาก : http://www.ipesp.ac.th/learning/supitcha/html/D3-3-5.html
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น